Lifestyle

มอเตอร์เกียร์ ชิ้นส่วนส่งกำลังสำหรับเครื่องจักร

มอเตอร์เกียร์

คือ อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานการเคลื่อนที่ของเครื่องจักร เช่น สายพานเครื่องจักรการลำเลียงสินค้า เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยการทำงานจากมอเตอร์ที่แปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล และทำให้วัตถุสามารถเคลื่อนที่ไปได้ มีฟันเฟืองหรือเกียร์ที่ทำหน้าที่ลดรอบความเร็ว ภายนอกของอุปกรณ์นี้จะคล้ายกับโลหะทรงกระบอก ส่วนด้านในจะประกอบด้วยกลไกหลายอย่าง เช่น ก้านเพลา แบริ่ง และฟันเฟือง มอเตอร์เกียร์จะมีหลายรูปแบบ จึงควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสม กับงานด้วย

ความรู้เกี่ยวกับ มอเตอร์เกียร์ ควรเลือกมอเตอร์เกียร์ให้เหมาะกับการใช้งาน ให้พิจารณาเลือกจากขนาดวัตต์หรือกำลังแรงม้าของมอเตอร์, อัตราการทดรอบความเร็วที่ต้องการ, ลักษณะในการติดตั้ง และระบบไฟฟ้าซึ่งมีแบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส เป็นต้น ต้องตรวจสอบว่าสามารถติดตั้งเข้ากับเครื่องจักรได้หรือไม่ ต้องเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าและยึดสกรูให้แน่น

ประเภทของมอเตอร์เกียร์

1. มอเตอร์เกียร์ตรง จะมีลักษณะภายในเป็นฟันเฟืองแบบเฉียง มีคุณสมบัติลดรอบมอเตอร์และเพิ่มแรงบิดให้เหมาะสมกับงานหลายประเภท มีหลายรูปแบบทั้งแบบขาตั้งหน้าแปลน หรือแบบมอเตอร์เกียร์ 2 เพลา ซึ่งนิยมใช้ในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม เช่น ประตูเลื่อนอัตโนมัติ, งานรอกยกของ เป็นต้น

2. มอเตอร์เกียร์แบบขาตั้ง โครงสร้างภายนอกประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า กล่องเกียร์ และก้านเพลา มีฐานเป็นขาตั้งใช้สำหรับติดตั้งและยึดเข้ากับเครื่องจักร ทำให้มอเตอร์เกียร์ทำงานได้ทนทาน และให้แรงบิดที่สูง เหมาะสำหรับงานส่งกำลังที่ใช้งานหนัก เช่น งานยกของ, งานสายพานลำเลียงสินค้า, การขับเคลื่อนเครื่องจักร เป็นต้น

3. มอเตอร์เกียร์แบบหน้าแปลน มีลักษณะเด่นอยู่ที่บริเวณฝั่งก้านเพลา ที่อยู่ตรงกลางด้านข้าง ซึ่งจะยื่นออกมาเพื่อใช้รองรับการทำงานร่วมกับมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์เกียร์แบบหน้าแปลนสามารถส่งแรงบิดสูงเต็มกำลัง มีเสียงที่เงียบ สะดวกในการติดตั้งทั้งภายในและนอกอาคาร เหมาะกับงานอุตสาหกรรมหนักและเบาทุกชนิด

4. มอเตอร์เกียร์แพลนเนตตารี่ โครงสร้างถูกออกแบบมาให้ส่งถ่ายกำลังจากชุดฟันเฟือง ของฟันเฟืองตัวอื่น ในขณะเดียวกันก็จะหมุนรอบตัวเองด้วย คุณสมบัตินี้เป็นคุณสมบัติพิเศษที่จะถ่ายโอนน้ำหนักระหว่างใช้งานได้ดี มีการระบายความร้อนได้ดี จึงเป็นที่นิยมในใช้โรงงานอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์

5. มอเตอร์เกียร์ 2 เพลาออก จะมีลักษณะที่โดดเด่นกว่า ซึ่งอยู่ที่ก้านเพลาที่ยื่นออกมาจากหัวเกียร์ทั้งสองด้าน คือ ด้านข้างหรือด้านบน เป็นการช่วยเพิ่มความแข็งแรง ต้านทานแรงกระแทกและการสึกหรอ ใช้ได้ดีในการทำงานที่ซับซ้อน โดยมีให้เลือกทั้งแบบขาตั้งและแบบหน้าแปลน เหมาะสำหรับใช้ในการติดตั้งกับยอย, โซ่เฟือง, สายพานลำเลียง เป็นต้น