LifestyleOutdoor

ทำความรู้จักกับ เต็นท์ สนาม กัน ฝน เพื่อนรักนักเดินป่าที่ชอบความชุ่มฉ่ำ

การออกไปตั้งแคมป์เป็นกิจกรรมที่นอกจากจะเต็มไปด้วยความตื่นเต้นแล้ว ก็ยังเต็มไปด้วยสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ สำหรับผู้ที่อยากจะออกไปตั้งแคมป์ท่ามกลางสายฝน หรือจะเดินไปในพื้นที่ที่มีน้ำค้างก่อตัวกันเยอะในช่วงกลางคืน แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยก็คือ เต็นท์ สนาม กัน ฝน ที่สามารถกันน้ำได้ ดังนั้นก่อนที่คุณจะไปออกผจญภัยสำรวจความชุ่มฉ่ำ มาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าว่าเต้นท์ประเภทนี้มีข้อดีอย่างไร และจะต้องมีลักษณะแบบไหนถึงจะมอบความอุ่นใจในขณะที่เดินทางให้กับคุณมากที่สุด 

คะแนนกันน้ำของ เต็นท์ สนาม กัน ฝน 

ระดับการกันน้ำสำหรับเต็นท์จะวัดเป็นมิลลิเมตร และโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 1000 มม. (ระดับต่ำสุดที่ถือว่ากันน้ำได้) ถึง 10,000 มม. ดังนั้นยิ่งค่าสูงเท่าไหร่ ก็แสดงว่าเต็นท์หลังนั้นก็จะยิ่งกันน้ำได้มากเท่านั้น การให้คะแนนจะวัดโดยใช้การทดสอบจากการกันน้ำ แต่การให้คะแนนเหล่านี้ไม่ได้คำนึงถึงฝนที่พัดมาจากลม และจากการเปื้อนโคลนและสิ่งสกปรกอาจทำให้สารเคลือบกันน้ำแตกตัว ซึ่งจะส่งผลทำให้น้ำซึมเข้าสู่ภายในได้ ดังนั้นขอแนะนำว่าคุรควรเสริมเกราะให้เต็นท์เป็นระยะ ๆ ด้วยการฉีดสเปรย์กันการซึมของเต็นท์ วิธีนี้จะช่วยคืนคุณสมบัติการกันน้ำ และในขณะเดียวกันก็ยังคงความสามารถในการระบายอากาศของเนื้อผ้าได้ดังเดิม  

เต็นท์ที่สร้างจากผ้าไนลอนหรือโพลีเอสเตอร์กันน้ำได้อย่างไร 

โดย เต็นท์ สนาม กัน ฝน จะถูกเคลือบด้วยโพลียูรีเทน ซิลิโคน หรือ DWR (Durable Water Repellant) เพื่อทำให้กันน้ำได้  ซึ่งสารเคลือบทั้งหมดเหล่านี้สามารถสึกกร่อนไปได้ตามกาลเวลา แม้แต่เต็นท์ที่มีราคาแพงก็ด้วย โดยโพลียูรีเทนเป็นวัสดุพลาสติกที่ใช้กันทั่วไปสำหรับผ้ากันน้ำ (รวมถึงเต็นท์) ทั่วไปแล้วประเภทของโพลียูรีเทนที่นำมาใช้เคลือบ จะเป็นประเภทโพลิเอสเตอร์ยูรีเทน (PU) หรือโพลิอีเทอร์ยูรีเทน (PE) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันกับ PE ซึ่งมีข้อดี คือ มีอายุไขที่ยาวนาน และไม่ดูดซับน้ำ  

ระดับการกันน้ำในส่วนต่าง ๆ ของเต็นท์ 

  • Rainfly High : รู้จักกันดีในชื่อของผ้าใบกันน้ำ ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ที่แยกจากตัวเต็นท์โดยสิ้นเชิง มีลักษณะเป็นผ้าใบที่ เมื่อกระทบกับน้ำแล้วน้ำจะไหลผ่าน นิยมนำมาขึงเหนือเต็นท์ เพื่อป้องกันน้ำกระทบกับตัวเต็นท์โดยตรง 
  • ผ้าเต็นท์ : ผ้าที่นำมาสร้างเป็นเต็นท์ โดยผ้าเต็นท์ระบายอากาศได้ดีกว่าผ้าใบกันน้ำ และยังป้องกันการรั่วซึมของน้ำที่จะเข้ามาสู่ภายในเต็นท์ได้อีกด้วย    
  • ตะเข็บเต็นท์ : ส่วนใหญ่จะไม่กันน้ำ ดังนั้นจึงต้องเคลือบด้วยเทปตะเข็บ หรือเคลือบกันน้ำ 
  • พื้นเต็นท์ : มีลักษณะเหมือนผ้าใบกันน้ำ มักจะมีสัมผัสที่แข็งกว่าตัวผ้า ระบายอากาศไม่ดีแต่ป้องกันน้ำซึมได้ดีมาก    

ซึ่งจากข้อมูลที่เรานำมาเสนอกันนี้ คุณจะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่า เต็นท์ สนาม กัน ฝน หลังที่คุณซื้อมานี้จะมีราคาสูงมากถึงขนาดไหน แต่ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะทำให้เป็นการยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น และในขณะที่ใช้งานจริง ทำให้คุณอุ่นทั้งกายอุ่นทั้งใจฝนไม่เปียก